ปฏิกิริยา ของ พระเยซูในโรงช่างของพ่อ (มิเล)

เมื่อตั้งแสดงเป็นครั้งแรกภาพเขียนก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างขนานใหญ่เพราะเป็นครั้งแรกที่จิตรกรแสดงภาพพระเยซูในบรรยากาศที่เป็นจริงในโรงช่างไม้ที่มีทั้งขี้เลื่อยและสิ่งสกปรกอื่นๆ ตามธรรมชาติของโรงไม้ ซึ่งแตกต่างไปจากการวาดภาพเกี่ยวกับพระเยูซูและครอบครัวที่เคยทำกันมาแต่เดิม ที่เป็นภาพในอุดมคติท่ามกลางสิ่งแวดล้อมแบบโรมัน ยุคกลาง หรือในความเลิศเลอของยุคบาโรกต่อมา ชาลส์ ดิกกินส์กล่าวหามิเลว่าแสดงภาพพระแม่มารีราวกับเป็นผู้หญิงติดเหล้าที่

...ท่าทางน่าเกลียดที่จนน่าจะ ... ยืนอยู่กับผู้หญิงชั้นต่ำหน้าคาบาเรต์ในฝรั่งเศส หรือหน้าร้านขายเหล้าจินชั้นต่ำ ๆ ในอังกฤษได้

นอกจากนั้นนักวิจารณ์ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อการแสดงภาพพจน์ของพระเยซูเช่นที่มิเลทำ เช่นผู้วิจารณ์คนหนึ่งถึงกับกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดที่แสดงภาพพระองค์เป็น “เด็กยิวผมแดง”[3]. Dickens described him as a "wry-necked boy in a nightgown who seems to have received a poke playing in an adjacent gutter."[4] (ภาพพจน์ส่วนใหญ่ของพระเยซูที่เขียนกันมาจะมีผมทองหรือดำ และการมีผมแดงก็เป็นลักษณะสรุป (Stereotype) ทางร่างกายอย่างหนึ่งของชาวยิว) นักวิจารณ์ผู้อื่นติว่าตัวแบบดูเหมือนมีสัญญาณว่าจะมีอาการเหมือนคนอดอาหารและมีเชื้อโรคที่เกิดจากการอยู่อาศัยในสลัม เพราะความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จึงทรงขอให้มิเลนำภาพเขียนมาให้ทอดพระเนตรยังพระราชวังบัคคิงแฮมเพื่อจะได้ทรงพิจารณาเป็นการส่วนพระองค์[5]

ที่ราชสถาบันศิลปะภาพเขียนได้ตั้งแสดงคู่กับงานของศิลปินร่วมกลุ่มวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ซึ่งเป็นงานที่เป็นฉากจากประวัติศาสตร์คริสเตียนยุคแรกของบริเตน ที่เป็นภาพของครอบครัวที่กำลังช่วยผู้บาดเจ็บ ในภาพที่ชื่อว่า “ครอบครัวชาวอังกฤษผู้เปลี่ยนศาสนาปกป้องผู้เผยแพร่ศาสนาคริสเตียนจากการถูกเข่นฆ่าโดยชนดรูอิด” (A Converted British Family sheltering a Christian Missionary from the persecution of the Druids)

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มพรีราฟาเอลไลท์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางขึ้นและก่อให้เกิดการโต้แย้งในหัวข้ออื่นๆ เช่นความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นสมัยใหม่, ความเป็นสัจจะนิยม และความเป็นยุคกลาง (medievalism) ในการสร้างงานศิลปะ นักวิจารณ์จอห์น รัสคินสนับสนุนมิเลในจดหมายที่ลงหนังสือพิมพ์และในปาฐกถา “ลัทธิพรีราฟาเอลไลท์”[6] แม้ว่ามิเลเองจะไม่ชอบภาพเขียน แต่การวาดภาพที่แสดงความเป็นจริงก็เริ่มขยายวงกว้างขึ้น โดยการใช้ฉากจากพระคัมภีร์ที่เสริมด้วยการสังเกตรายละเอียดรอบข้าง

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเยซูในโรงช่างของพ่อ (มิเล) http://www.engl.duq.edu/servus/PR_Critic/HW15jun50... http://www.engl.duq.edu/servus/PR_Critic/TB1jun50.... http://smarthistory.org/blog/89/two-paintings-by-t... http://www.victorianweb.org/painting/herbert/paint... http://www.victorianweb.org/religion/type/ch4b.htm... http://www.liverpoolmuseums.org.uk/podcasts/pre-ra... http://www.tate.org.uk/britain/exhibitions/millais...